วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาหมู่บ้านจัดสรรที่มีมากที่สุดขณะนี้

โครงการร้อยละ 5 ที่มีการจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านสำเร็จ
ไม่ได้หมายความว่าการบริหารงานนับจากนั้นจะราบรื่นไปด้วย เพราะปัญหาเรื่องการไม่ยินยอมจ่ายค่าส่วนกลางยังมีอยู่ในทุกชุมชน ขณะที่การบริหารงานจะต้องมีเม็ดเงินเป็นปัจจัยหลัก เช่นค่าน้ำสำหรับรดน้ำต้นไม้ในสวน ค่าไฟส่องสว่างถนนทั้งโครงการ ค่าคนดูแลสวน และค่ายามรักษาการณ์ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายจิปาถะที่อาจเกิดขึ้นหากว่ามีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ เกิดชำรุดเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟแสงสว่าง ถนนชำรุด หรือแม้แต่การลอกท่อระบายน้ำ ค่าใช้จ่ายที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนิติบุคคลจะบริหารงานยากหากว่าไม่ได้รับความร่วมมือที่ดีจากลูกบ้านแล้ว โครงการที่ขายไปแล้วตาม พ.ร.บ.ฉบับที่ว่า ยังต้องการผลักภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้กับลูกค้าที่ซื้อบ้านในโครงการด้วย
จึงมักจะยกให้แกมบังคับเพื่อให้ลูกบ้านจัดตั้งนิติบุคคล ขึ้นมารับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่อไป
ซึ่งไม่ใช่แค่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับปัญหานี้ เพราะแม้แต่โครงการบ้านจัดสรรระดับกลางถึงระดับหรู ลูกบ้านบางรายก็ลุกขึ้นมาประกาศไม่ยอมรับคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้น ก็มีให้เห็นกันมากมาย แต่ดูเหมือนกรณีนี้จะถึงทางตันมากกว่า โดยหนึ่งในลูกบ้านเพียรพยายามที่จะเรียกร้องให้เจ้าของโครงการก่อสร้างทุกอย่างตามที่เคยโฆษณาไว้(เช่นสำนักงานนิติบุคคลที่ดูหรูๆในความนึกคิดของเรา) แต่เมื่อไม่ได้รับคำตอบจึงต้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการ ไม่ว่าจะเป็น สคบ. กรมที่ดินจังหวัด ศูนย์ดำรงธรรม กรมที่ดิน และหน่วยราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่เรื่องทั้งหมดกลับเงียบหาย ไม่มีการตรวจสอบรวมทั้งไม่มีคำตอบใด ๆ
      นั่นก็ยังดีกว่าหากเทียบกับโครงการขนาดเล็กหรือขนาดกลาง  บางแห่งที่มีบ้านเพียงไม่กี่หลังอย่างเช่นหมู่บ้านฮาบิเทียบางใหญ่ของเรามีจำนวน 216 หลังกำลังพอดี  แต่ถ้าบางแห่งมีจำนวนสมาชิกที่น้อย 
      เมื่อคำนวนรายจ่ายที่เกิดขึ้นถ้าจะต้องดำรงไว้ให้อยู่ในสภาพที่โครงการยังไม่ออกไป มีจำนวนสูงมากกว่าที่หลายๆคนนึกไม่ถึง (ดูสัญญาที่โครงการฯของเราทำและค่าใช้จ่ายในขณะนี้)ทำให้ค่าสาธารณูป โภคที่ต้องรับผิดชอบต่อหลังสูงกว่า  หมู่บ้านขนาดใหญ่ และถ้าไม่สามารถคัดสรรคณะกรรมการมาทำหน้าที่ในการบริหารการเงินได้อย่างพอเพียง  ใครๆก็ไม่อยากจะรับมาเป็นคณะกรรมการบริหารให้ถูกสมาชิกต่อว่า   จัดตั้งนิติบุคคลก็บริหารไม่ได้เพราะ ไม่มีปัจจัยพอที่จะบริหาร จะขึ้นค่าส่วนกลางก็มีแต่เสียงบ่นว่าแพงไป เป็นต้น จึงต้องจำใจอยู่ในฐานะคาราคาซังช่วย ๆ กันจ่ายค่ายามค่าไฟไป พยุงๆไว้ไม่ให้เลวร้ายไปกว่านี้(สิ่งที่เกิดในหลายๆหมู่บ้าน)
        หมู่บ้านฮาบิเทียบางใหญ่ของเราก็อาจประสบปัญหาดังกล่าวได้เช่นกัน เมื่อตรวจสอบดูค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกรรมการ(ชั่วคราว)หลายคนเริ่มวิตกกังวลว่า เม็ดเงินในการบำรุงรักษาประจำเดือนมากจริงๆถ้ารักษาสภาพที่  โครงการฯยังไม่ออกไป และค่าส่วนกลางที่เก็บมาได้หากจ่ายจริงๆคงไม่เกิน 5-6 เดือนก็หมดแล้ว  และยังมีลูกบ้านยังไม่จ่ายค่าส่วนกลางอีก ทำให้ระบบการเงินมีปัญหาตามมาอย่างแน่นอน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น