วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

บทเรียนจากการอยู่ร่วมกัน

ไปอ่านพบบทความซึ่งเขียนโดย ศ.ดร.วรภัทร โตธนะเกษม
อยากนำเสนอให้สมาชิกหมู่บ้านฮาบิเทียบางใหญ่ของเราอ่านดู
นุษย์เรา เวลาเป็นเพื่อนบ้านกัน อยู่ บ้านใกล้เรือนเคียง ถ้าจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ก็จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ กติกา และโอนอ่อนผ่อนปรนซึ่งกันและกัน รวมทั้งมีน้ำจิตน้ำใจให้แก่กันและกันด้วย การอยู่ร่วมกันกับ เพื่อนบ้าน อย่างสงบสุข จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายอย่างที่คิด ถ้าจะลองดู ปัญหาใกล้ตัว ก็จะเห็นตัวอย่างที่ชัดเจน เช่น ปัญหาของคนที่มีบ้านอยู่ใน หมู่บ้านจัดสรร เป็นต้น ผมเคยถามเพื่อนฝูงหลายคนว่ามีปัญหาอะไรบ้าง เท่าที่ประมวลดูแล้ว เข้าใจว่าปัญหามีหลากหลายชนิด แต่ที่ ติดอันดับต้นๆ คงมีอยู่สองเรื่องด้วยกัน คือเรื่อง ก่อสร้างต่อเติมออกมา จนรุกล้ำสิทธิของเพื่อนบ้านหรือพื้นที่ส่วนกลาง กับ เรื่องไม่จ่ายเงินค่าส่วนกลาง
            เท่าที่สอบถามดู พอจะประเมินคร่าวๆ ได้ว่า ในแต่ละหมู่บ้าน น่าจะมีคนที่ก่อให้เกิดปัญหาเช่นนี้โดยเฉลี่ย ประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ พูดง่ายๆ ว่า ถ้ามีบ้าน 100 หลัง ก็อาจจะพบมนุษย์ผู้สร้างปัญหาให้แก่สังคมส่วนรวม ประมาณ 3-5 คน และทำให้คนส่วนใหญ่อีก 95-97 คน ต้องเสียความรู้สึก และต้องขบคิดหาวิธีการว่าทำอย่างไร จะให้คนเหล่านี้ ประพฤติปฏิบัติตน ให้ถูกต้องตามกฎหมายและกติกาสังคม
 กรณี ที่ไม่ยอมจ่ายส่วนกลางนั้น ถ้าเป็นสาเหตุมาจากฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปอย่างกะทันหัน จนทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอ เพื่อนบ้านก็คงพอจะเข้าใจได้ และให้เวลาในการแก้ปัญหา แต่เท่าที่ผมได้ยินมานั้น ส่วนใหญ่ยังมีรายได้เพียงพอ และบางรายมีรายได้เหลือเฟือเสียด้วยซ้ำไป แต่ จะไม่จ่ายเสียอย่าง จะว่าไง เอาซีครับ รวยดีอยู่หรอก แต่พฤติกรรมน่าเหยียดหยามอย่างนี้ก็มีด้วย

สาเหตุที่การบริหารงานในหมู่บ้านล้มเหลว

สาเหตุที่การบริหารงานในหมู่บ้านล้มเหลว😈

1. สมาชิกในหมู่บ้านจำนวนมากไม่ชำระค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะให้ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ส่งผลให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรขาด “งบประมาณรายรับ” หรือไม่เพียงพอต่อ “งบประมาณ-รายรับ-รายจ่าย"
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยฝ่ายบริหารหรือคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร จำเป็นต้องอาศัยทั้งหลักรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ไปพร้อมๆ กันเพื่อขอความร่วมมือให้ผู้ซื้อที่ดินชำระค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคหรือ บริการสาธารณะให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

2. ขาดความเป็นเอกภาพความสามัคคีในการบริหารงานโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร
-ปัญหา “ความไม่ลงรอย” ระหว่างการบริหารงานของคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร อาจส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการบริหารงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
-นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรจำนวนมากกว่า “กึ่งหนึ่ง” ประกาศลาออก เพื่อขอให้เปิดประชุม เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรชุดใหม่ แต่ประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการ “ไม่เห็นด้วย” กลายเป็นปัญหา (ภายใน) แสดงความไม่เป็นเอกภาพ หรือหนึ่งเดียว ก่อให้เกิดความไม่โปร่งใสในการบริหารงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในสายตาของสมาชิกหมู่บ้าน

3. มีการเปลี่ยนแปลงฝ่ายบริหารหรือคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรบ่อยครั้ง ทำให้งานบริหารขาดความต่อเนื่อง
### สัจธรรมข้อหนึ่งของความล้มเหลวในการบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร “ไม่ได้รับเงินเดือนหรือเบี้ยเลี้ยง” ทำให้เกิดความไม่เต็มใจที่จะสละเวลาส่วนบุคคลเข้ามาดูแลงานอย่างเต็มที่
สังเกต มักพบว่า นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง เพราะการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร “ไม่เป็นองค์ประชุม” ตามข้อบังคับ
 ....💛เมื่อเรารู้ว่าสาเหตุเป็นอย่างนี้ทุกคนคงต้องมาร่วมกันอย่าให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านฮาบิเทียบางใหญ่ของเรา