วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิพากษ์เรื่องค่าส่วนกลาง

         หมู่บ้านฮาบิเทียบาใหญ่ของเราเป็นหมู่บ้านขนาด 216 หลังที่มีผู้อยู่จริงประมาณ 160 กว่าหลังซึ่งตัวเลขยังไม่แน่นอน มีบางครอบครัวมาเฉพาะเสาร์-อาทิตย์และอีกหลายหลังประกาศขายที่เห็นอยู่ ประมาณ 5 หลัง สำหรับหมู่บ้านขนาดนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเสียค่าใช้จ่ายส่วนกลางค่อนข้างสูง ไม่เหมือนหมู่บ้านใหญ่ๆขนาด 500 หลังขึ้นไปเก็บแค่ 20 บาทก็สามารถบริหารจัดการได้แล้ว

   -  ส่วนหมู่บ้านของเราได้เงินสบทบจากบริษัทพิวรรธนา 1,542,251.00 บาท(พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 นั้น กฎหมายระบุว่าผู้จัดสรรที่ดินต้องส่งมอบเงินสมทบให้ในอัตราร้อยละ 7 ของราคาค่าก่อสร้างสาธารณูปโภคภายในโครงการ) ถ้าจะถามว่าเงินจำนวนนี้เก็บไว้ทำอะไร ? 
สำหรับหมู่บ้านของเราจะเก็บไว้กรณีฉุกเฉิน เช่นกรณีการป้องกันน้ำท่วม การซ่อมแซมสาธารณูปโภคขนาดใหญ่เช่น
สโมสร,ถนน,ท่อระบายและระบบน้ำทิ้งและสำรองกรณีที่นิติบุคคฯไม่สามารถจัดสรรเงินค่าใช้จ่ายประจำเดือนที่ต้องจ่ายให้กับคู่สัญญาเช่น การทำความสะอาด,รปภ.,ค่าน้ำ,ค่าไฟ ฯลฯ เป็นต้น
- เก็บ 20 บาทอย่างเดิมได้ไหม?

คิดเล่นๆเมื่อเราอยากจะให้เก็บ 20 บาทต่อตารางวาเหมือนเดิม


1. รปภ.    8 คน                                                                                              162,640 บาท(คงเดิม)
2.คนกวาดถนนทำสวน 4 คน,เก็บขยะ 1คน,ทำความสะอาดสโมสร 1 คน       50,000  บาท
   (กวาดเฉพาะถนนเมนอย่างเดียวในซอยให้สมาชิกดูแลเอาเองและยังไม่รู้ว่าจะมีคนมารับจ้างหรือไม่ราคาถูกๆแบบนี้)
3.ค่าดูแลสระน้ำ  (จำเป็นเพราะถ้าน้ำเน่าเสียค่าใช้จ่ายเป็นแสนบาท)             9,500 บาท
4.ค่าเก็บขยะ/กิ่งไม้  (ต้องจ่ายให้เทศบาล)                                                      5,320   บาท                                                                               
                                                                                                                       
5. ค่าซ่อมแซม/หลอดไฟ/ค่าถุงใส่ขยะ  (จุดไหนไม่จำเป็นไม่ต้องซ่อม)           4,500   บาท
6. ธรุการประจำสำนักงานนิติบุคคลฯ                                                                 15,000 บาท
(ทำหน้าที่ออกใบแจ้งเก็บค่าส่วนกลางและออกใบรับเงินอย่างเดียว)                                                                                                            หรือเลือกจ้างเป็นครั้งคราวประมาณ3 เดือนถ้ามีผู้รับจ้างทำให้ทำเฉพาะช่วงเก็บค่าสาธารณูปโภคปีละ 2 ครั้งและสมาชิกต้องช่วยเหลือตนเองทุกเรื่องเพราะจะไม่มีผู้จัดการดำเนินการให้)
7.ค่าไฟฟ้า/น้ำ/ค่าโทรศัพท์(อาจจะต้องปิดบางจุดเพื่อลดปริมาณการใช้)   15,000 บาท

                                                                                               รวม    216,960 บาท
จำนวนเงินที่คาดว่าเก็บได้ 85% = 208,608.70 บาท ติดลบ 8,351.30บาทต่อเดือน
จำนวนเงินที่คาดว่าจะเก็บได้ 90 % = 220,879.80 บาท คงเหลือ 3,919.80 บาท

*****

หมายเหตุ  บทความนี้เป็นแนวคิดเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับผู้ใด หากจะนำแนวคิดนี้ไปใช้ต้องถามความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่สมาชิกเท่านั้นเพื่อให้ลงมติเสียงส่วนใหญ่ เพราะทุกคนมีส่วนได้ส่วนเสีย

สำหรับเงินที่บริษัทพิวรรธนาสนับสนุนพิเศษ จำนวน 530,000 บาท สำหรับให้ดำเนินการ
1. จัดสร้างสำนักงานนิติ/อุปกรณ์สำนักงาน   400,000 บาท
2.ลูกระนาด 75,000 บาท เพื่อชลอความเร็วของรถเพื่อความปลอดภัยของลูกหลานของท่านเอง
3.ป้ายห้ามสุนัข 4,000 บาท อาจไม่ต้องมีก็ได้เพราะถ้าสมาชิกช่วยกันดูแลสุนัขของท่านให้ดีและเก็บมูลกรณีที่ออกมาถ่ายในสวนหรือที่ส่วนกลาง
4.เก้าอี้ กลางแจ้ง 5,000 บาท
5.ชุดอุปกรณ์เด็กเล่น 20,000 บาท
6.อุปกรณ์ช่าง            26,000 บาท

ทั้ง 6 รายการนี้คณะกรรมการจะนำไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ตามความจำเป็นและความต้องการของสมาชิกส่วนใหญ่
******************************************************************************




วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การมีตัวแทนซอยดีอย่างไร

ตามที่คณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านฮาบิเทียบางใหญ่ จัดตั้งตัวแทนซอยขึ้นมา มีกุศโลบาย(strategy)ดังนี้
- เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์(Interaction)กับสมาชิกในซอยของตนเอง พบปะพูดคุยกันก่อให้เกิดความเป็นกันเองในโอกาสต่อไป    แน่นอนเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ๆกันมักจะมีเรื่องขุ่นข้องหมองใจกันบ้างเช่น เลี้ยงสุนัขส่งเสียงรบกวนเวลาพักผ่อน จอดรถขวางทางเข้าออก เปิดเพลงเสียงดัง และจัดงานเลี้ยงเป็นต้น หากสมาชิกในซอยพบปะพูดคุยกันรู้จักกัน เป็นเพื่อนกันช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกัน  สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นสามารถพูดคุยกันได้แบบมิตรแบบคนรู้จัก อลุ่มอลวยกัน บรรยากาศความเป็นอยู่ร่วมกัน มันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับการไม่พูดคุยทำความรู้จักกัน เกิดการเก็บกดเมื่อมีเหตุการณ์ที่กล่าวมาแล้ว ส่งผลให้ทะเลาะวิวาทกันในที่สุด เพราะต่างคนต่างไม่ยอมซึ่งกันแล้วหมู่บ้านของเราจะอยู่กันอย่างมีความสุขได้อย่างไร
      ฉะนั้นจุดเริ่มต้นตัวแทนซอยมีหัวข้อเรื่องที่จะไปเริ่มสร้างจุดนี้ขึ้นมาก่อน โดยรับข้อมูลข่าวสารจากคณะกรรมการไปเป็นหัวข้อในการพูดคุย ซึ่งบางทีก็อาจจะมีเรื่องสอบถามข้อคิดเห็น ตัวแทนซอยก็จะได้รวบรวมข้อคิดเห็นข้อแนะนำมาพูดคุยกันในที่ประชุมคณะกรรมการ  บางครั้งอาจได้ข้อสรุปโดยไม่ต้องคอยจัดประชุมใหญ่ถ้าเป็นข้อที่ไม่ขัดกับกฎหมายของนิติบุคคฯ คณะกรรมการสามารถดำเนินการได้เลยเป็นต้น ทำให้การทำงานและการแก้ปัญหาต่างๆได้รวดเร็ว
 - ดีข้อที่สอง คือเมื่อชุมชนของแต่ซอยรู้จักกัน ก็จะเกิดการแนะนำในซอยอื่นๆ ในการเข้าร่วมกิจกรรมในโอกาสต่างๆเช่น ทำบุญปีใหม่ จัดงานวันเด็ก ฯลฯ เกิดการขยายการมีปฏิสัมพันธ์เป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น มีความสมัครสมานสามัคคีในหมู่บ้านฮาบิเทียบางใหญ่ของเรา  ผลรับก็คือการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ตามที่ทุกๆคนคาคหวังไว้ให้เป็น  Home sweet home