วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

อนาคตของหมู่บ้านจัดสรรที่เก็บค่าส่วนกลางไม่พอบริหารงาน

กรณีศึกษา

เรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เราต้องเสียในอนาคตอันใกล้นี้ ดูท่าทีรัฐบาลคงต้องเก็บแน่ๆ  ซึ่งจะซ้ำซ้อนกับค่าส่วนกลางที่นิติฯเก็บอยู่อาจส่งผลต่อการจ่ายค่าส่วนกลางลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งงวดสุดท้ายมีสมาชิกยังไม่จ่ายอีกเป็นจำนวนมาก   (ข้อมูลวันที่1มีค.58งวดแรกคงค้างจ่าย14ราย)เริ่มส่งสัญญาณบางอย่างให้คณะกรรมการต้องกลับมาคิดหาทางแก้ไข    ทางเลือกของเราคืออะไร(ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ)โดยจะเรียงลำดับความสำคัญ
1.ลดค่าใช้จ่ายลง  เช่นลดการใช้ไฟฟ้าถนน โดยเปิดดวงเว้นดวง   ปิดสโมสร สระว่ายนำ้ เพื่อลดค่ากระแสไฟฟ้าจากปั้มนำ้ที่ทำงานตลอดเวลา  และการบำรุงรักษาเดือนละ 12,500 บาท ลดรป.เหลือคนเดียว กวาดถนนอาทิตย์ละครั้งโดยจ้างครั้งคราว  ตัดหญ้าเดือนละครั้งเป็นต้น
2.ลดค่าส่วนกลางลงให้สัมพันธ์กับภาษีที่ต้องจ่ายและงบประมาณที่มีในการบริหารงาน
3.เลิกนิติฯส่งมอบให้อบต.ซึ่งเราจ่ายภาษีให้เขาไปแล้วบริหารหมู่บ้านแทนนิติฯ
....เพื่อเตรียมรับสภาพที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต......

แผนปฏิบัติเพื่อรองรับวิกฤตทางการเงิน

แผนที่ 1 ลดค่าใช้จ่ายหลัก 
รายจ่ายหลัก (ข้อมูลเฉลี่ยเดือน พย.57)
1. ปกติค่ากระแสไฟฟ้าแยกเป็น
1.1 แสงสว่าง 20,507.05 บาท
1.2 สโมสร (สระน้ำ) 6,883.67 บาท
1.3 โรงสูบน้ำ(รดน้ำสนามหญ้า,ต้นไม้) 5,018.13 บาท
                                    รวม 32,408.85 บาท/เดือน 
วิธีการลดค่าใช้จ่ายระยะที่1     เปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดแสงจันทร์ขนาด 150 Watt
มาเป็นหลอดประหยัดไฟขนาด 70 Watt แทนซึ่งจะให้แสงสว่างเทียบเท่าหลอดแสงจันทร์ จำนวน........หลอดซึ่งสามารถลดกำลังไฟฟ้าลงได้
ลงทุนราคาหลอดประหยัดไฟ 700 บาทจำนวนหลอดที่เปลี่ยน....หลอดเป็นเงิน.........บาทซึ่งจะคืนทุน
ภายใน.....เดือน

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

นิติบุคคลไม่สามารถละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้


            เรื่องการฟ้องศาลเพื่อเรียกให้สมาชิกที่ไม่ชำระค่าส่วนกลาง คณะกรรมการไม่อยากจะฟ้องเลย อย่างไรก็เป็นคนหมู่บ้านเดียวกัน
 แต่นิติบุคคลฯทำไป เพื่อความยุติธรรม จึงไม่สามารถละเว้นได้
        เนื่องจากยังมีสมาชิกที่มีความรับผิดชอบชำระค่าส่วนกลาง อย่างสม่ำเสมอตลอดมา ทำให้การบริหารงานหมู่บ้านเป็นไปด้วยความเรียบร้อย **รายที่นิติบุคคลฯฟ้องไม่ได้ชำระค่าส่วนกลางมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 ซึ่ง ทางนิติบุคคลฯได้ดำเนินการทวงถามตลอดมา เจ้าของบ้านบ่ายเบี่ยงอ้างว่าไม่ได้อยู่อาศัยเลยทำไมต้องเสียค่าส่วนกลางด้วย  ขอชี้แจงดังนี้ บ้านที่ทางธนาคารยึดไปขายทอดตลาดหลายหลังในหมู่บ้านของเรา ธนาคารยังต้องรับผิดชอบชำระค่าส่วนกลางให้กับนิติบุคคลฯ เพราะธนาคารทราบว่าเมื่อจะทำการซื้อ-ขาย หากต้องชำระหนี้ปุริมสิทธิ
      ซึ่งเป็นของนิติบุคคลฯต้องชำระให้เรียบร้อยเสียก่อน สำหรับบ้านที่หนี้นิติบุคคลฯติดค้างอยู่ มิฉะนั้นจะมีปัญหาเรื่องการทำธุรกรรม ซื้อ-ขาย-โอนกรรมสิทธ์ไม่ได้  ท่านจะอยู่หรือไม่อยู่เมื่อท่านซื้อบ้านแล้ว
ภาระหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของหมู่บ้าน ซึ่งมติจากการประชุมใหญ่ของสมาชิกหมู่บ้าน
       สรุปดังนี้ เรื่องอยู่ในศาลจำนวน 1 แปลง และอีก 5 แปลงกำลังยื่นให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนสิ้นปี
หากเลยกำหนดเวลาจะยื่นฟ้องศาล

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประชุมใหญ่ประจำปี 2558

เมื่อปีที่แล้วสมาชิกหมู่บ้านฮาบิเทียบางใหญ่
ประชุมใหญ่ประจำปีกันเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2557  ปีนี้ครบรอบประชุมใหญ่มาถึงอีกแล้ว
คณะกรรมการนิติฯประชุมตกลงกันว่าปีนี้จะจัดประชุมวันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2558 เวลา10.00 น.
- ความจริงไม่อยากรบกวนสมาชิกในวันหยุดพักผ่อน แต่กฎหมายและข้อบังคับกำหนดให้ประชุมสามัญ
สมาชิกหมู่บ้านอย่างน้อยปีละครั้ง และต้องจัดส่งรายงานต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดทุกครั้ง
การประชุมก็เพื่อให้สมาชิกช่วยกัน
- ตรวจสอบรับรอง  งบดุลบัญชี รายรับ-รายจ่ายของนิติบุคคลฯ
- รับทราบการบริหารและการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ
- ร่วมแสดงความคิดเห็นต่างๆเพื่อการพัฒนาหรือแก้ไขข้อปัญหาต่างๆ
ในหมู่บ้านของเรา ซึ่งไม่อยากให้คณะกรรมการทำงานอยู่ด้านเดียว สมาชิกช่วยกันมองหลายๆมิติ
คณะกรรมการขอน้อมรับมาดำเนินการให้สมกับความไว้วางใจที่สมาชิกเลือกให้เข้ามาบริหารงาน
- ในการประชุมแต่ละครั้งมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
                1.สมาชิกต้องครบองค์ประชุมตามข้อบังคับข้อที่ 34 คือสมาชิกต้องมาประชุม ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนเสียง  ซึ่งเรามีทั้งหมด 216 เสียง ต้องมาไม่น้อยกว่า  72 เสียง จึงครบองค์ประชุม
                2.ค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่นค่าเช่าเต็นท์,ค่าอาหารว่างแจกผู้เข้าร่วมประชุม,ค่าเอกสาร,ค่าแรงงาน,ค่าเช่าพัดลม,ฯลฯ   เป็นเงินหลายหมื่นบาท เงินเหล่านี้ก็มาจากสมาชิกทุกๆท่านหากสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุมตามระเบียบข้อบังคับ ก็ต้องจัดประชุมใหม่
ซึ่งสมาชิกคงไม่อยากให้หมู่บ้านเราเสียเงินของทุกๆคนไปโดยไม่ได้อะไร  เหตุที่กล่าวมานี้ขอให้ทุกๆท่านเสียสละเวลามาร่วมประชุมกันมากๆนะครับ .........
           




วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เล่าเรื่องที่กรรมการประชุมกัน

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม 2558  (เล่าให้ฟังเฉยๆสักเรื่องสองเรื่องเพราะมีหลายเรื่อง)
คณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านฮาบิเทียบางใหญ่ประชุม
โดยมีวาระสำคัญคือจัดประชุมใหญ่ประจำปี 2558 ซึ่งจะจัดประมาณเดือน มิถุนายนของทุกๆปี
ตามข้อบังคับของกฎหมาย   ซึ่งปีนี้คาดว่าจะจัดประชุมใหญ่ประมาณวันที่ 28 มิถุนายน 2558
นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่สมาชิกแจ้งให้นิติบุคคลฯช่วยดำเนินการเช่น
     - เรื่อง สมาชิกบางท่านเลี้ยงสัตว์ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญและส่งกลิ่นเหม็นรบกวนเพื่อนบ้าน
ทางนิติฯส่งเรื่องให้ทางปศุสัตว์จังหวัดดำเนินการ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยกฎระเบียบของบ้านเมือง
มาช่วยดูแล เพราะเป็นเรื่องการอยู่ร่วมกันและละเมิดสิทธิผู้อื่น
-เรื่องการบำรุงรักษา-ซ่อมแซมเครื่องออกกำลังกายของเทศบาลที่ติดตั้งในหมู่บ้าน
ส่งเรื่องให้เทศบาลตำบลเสาธงหินดำเนินการ
ซึ่งเรื่องบางเรื่องทางนิติฯไม่สามารถดำเนินการได้เอง  บางเรื่องที่นิติฯสามารถดำเนินการได้เอง
คณะกรรมการจะรีบดำเนินการให้ทันที เช่น จัดหาอุปกรณ์เพื่อซ่อมบำรุงรักษาไฟฟ้าและตัดต้นไม้
โดยไม่ต้องจ้างเทศบาลเข้ามาดำเนินการให้ซึ่งบางครั้งต้องคอยคิวกว่าจะทำให้เป็นต้น (ค่าตัดต้นไม้
ที่ต้องจ้างเทศบาลตัดทั้งหมู่บ้านค่าจ้างประมาณ 15,000 บาทต่อครั้งและปีหนึ่งจะตัด 1-2 ครั้ง)
*****เหตุผลก็คือประหยัดให้มากเท่าที่จะทำได้เพื่อให้การบริหารค่าส่วนกลางที่มีอยู่พอดีๆได้ประโยชน์สูงสุด
เพราะเราเก็บค่าส่วนกลางในจำนวนที่พอเพียงแก่การดำเนินงานของนิติฯ ไม่เก็บสะสมเงินไว้จำนวนมากๆ
เหมือนนิติบุคคลหมู่บ้านอื่นๆ ให้เกิดกรณีโกงกินขึ้นตามที่เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ
-เรื่องแมวจรจัด
สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว  ปัญหานี้เบื้องต้นขอความร่วมมือเจ้าของบ้านบางหลังอย่าให้อาหาร
แก่แมวพวกนี้  (เรื่องนี้กรรมการลำบากใจเนื่องมีบางท่านรักและสงสารสัตว์)  กรรมการท่านที่เป็นปศุสัตว์จังหวัด
แนะนำว่าให้เทศบาลหรือเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์มาจับ ก็จะนำไปขังที่ศูนย์พักสัตว์ซึ่งมีสัตว์ต่างๆอยู่กันอย่างแออัด
เป็นร้อยๆตัวทั้งหมาและแมว  และยังไม่รู้ว่าจะเอาไปไว้ที่ไหนดีกว่านี้ ใครๆก็รู้ว่าแมวไม่สามารถจับได้ง่ายๆต้องใช้
ยิงยาสลบซึ่งอาจจะทำให้ตายได้ สรุปกรรมการก็เลยเงิบ.... ยังหาทางออกไม่ได้ท่านใดมีไอเดียดีแนะนำกันบ้าง..



วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

โครงการประหยัดพลังงานไฟฟ้า

      โครงการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในหมู่บ้านฮาบิเทียบางใหญ่

การใช้กระแสไฟฟ้าในบริเวณพื้นที่สาธารณะในหมู่บ้าน(ข้อมูลเดือนมีนาคม2558)
1.สระน้ำที่สโมสร มีปั้มน้ำที่ต้องทำงาน.........
เพื่อให้ระบบถ่ายเทน้ำในสระให้สะอาดตามมาตรฐาน... ค่ากระแสไฟฟ้า..5,430.92...บาท
2.ไฟฟ้าแสงสว่างถนน /ป้อมยาม /ไม้กระดกกั้นรถเข้า-ออกอัตราการทำงานวันละ 300-500 ครั้ง(จากรายงานสูงสุดประมาณ 800 ครั้งต่อวัน)  .เฉลี่ยค่ากระแสไฟฟ้าเดือนละ.....17,625.75.บาท(ใช้มิเตอร์วัดไฟตัวเดียวกัน)
3.ปั้มน้ำสำหรับรดน้ำสนามหญ้าและต้นไม้.............ค่ากระแสไฟฟ้าเดือนละ 5,119.82.บาท
4.ไฟฟ้าแสงสว่างสโมสร  131.49 บาท
รวมค่ากระแสไฟฟ้าทั้งหมด..28,307.98.บาท

จะเห็นว่าจุดที่ใช้กระแสไฟฟ้ามากคือป้อมยาม(ไม้กระดกผ่านเข้า-ออก)และไฟฟ้าส่องสว่างถนน
มีการใช้กระแสไฟฟ้ามาก

มาตรการลดค่ากระแสไฟฟ้า

1.ปั้มน้ำที่บริเวณน้ำตกใช้ตั้งเวลาให้ทำงานเป็นช่วงๆแทนที่จะเปิดทั้งวัน(ดำเนินการแล้ว)
2.ปรับปรุงไฟฟ้าแสงสว่างบริเวณป้อมยามใช้ไฟเป็น LED และ Fluorescent แทนหลอด Spotlight
 ขนาดใหญ่ 300 W ดำเนินการเปลี่ยนเป็นหลอด LED ขนาด 50 W
แทน



3.เปลี่ยนหลอดไฟแสงจันทร์ขนาด 125 Wทั้งหมดจำนวน 71 ดวง ใช้หลอดแสงจันทร์ขนาด 125 W  เป็นหลอดประหยัดไฟขนาด 85 W แทนโดยทยอยเปลี่ยน
เฉพาะหลอดที่เสียก่อนเนื่องจากราคาหลอดประหยัดไฟ ราคาหลอดละประมาณ 650 - 750 บาท
หากเปลี่ยนได้หมด 71 หลอดในอนาคตจะสามารถลดพลังไฟฟ้าได้จากเดิม( 8,875 W + LOSS 3 %

=  9,141.25 W คำนวนค่ากระแสไฟฟ้าประมาณเดือนละ 8,000 บาท )   ถ้าหักจากการใช้กระไฟฟ้าที่ป้อมยามออก =17625.75-8,000 = 9,625.75 บาท จะเห็นว่าการใช้พลังไฟฟ้าในการเปิดปิดประตูให้รถ
ผ่านเข้า- ออก มีปริมาณมากกว่าแต่ไม่สามารถลดการใช้พลังไฟฟ้าจุดป้อมยามลงได้
 ถ้าลงทุน เปลี่ยนหลอดไฟฟ้าทั้งหมดจำนวน 71 หลอดเพื่อลดพลังงานด้านแสงไฟฟ้าส่องสว่างถนน เป็นจำนวนเงินประมาณ 46,000 บาท จะคืนทุนได้ภายใน 6-8 เดือน(แต่ต้องพิจารณารายรับของนิติบุคคลฯว่าจะมีเงินพอที่จะค่อยลงทุนทีละเดือนหรือลงทุนในครั้งเดียว) จากการคำนวนคร่าวๆเราสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้เกือบครึ่งหนึ่ง แต่มีการส่องสว่าง มากขึ้นหลายเท่าตัว ทั้งนี้คงต้องให้สมาชิกร่วมออกความคิดเห็นกันละครับ





วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

บทเรียนจากการอยู่ร่วมกัน

ไปอ่านพบบทความซึ่งเขียนโดย ศ.ดร.วรภัทร โตธนะเกษม
อยากนำเสนอให้สมาชิกหมู่บ้านฮาบิเทียบางใหญ่ของเราอ่านดู
นุษย์เรา เวลาเป็นเพื่อนบ้านกัน อยู่ บ้านใกล้เรือนเคียง ถ้าจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ก็จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ กติกา และโอนอ่อนผ่อนปรนซึ่งกันและกัน รวมทั้งมีน้ำจิตน้ำใจให้แก่กันและกันด้วย การอยู่ร่วมกันกับ เพื่อนบ้าน อย่างสงบสุข จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายอย่างที่คิด ถ้าจะลองดู ปัญหาใกล้ตัว ก็จะเห็นตัวอย่างที่ชัดเจน เช่น ปัญหาของคนที่มีบ้านอยู่ใน หมู่บ้านจัดสรร เป็นต้น ผมเคยถามเพื่อนฝูงหลายคนว่ามีปัญหาอะไรบ้าง เท่าที่ประมวลดูแล้ว เข้าใจว่าปัญหามีหลากหลายชนิด แต่ที่ ติดอันดับต้นๆ คงมีอยู่สองเรื่องด้วยกัน คือเรื่อง ก่อสร้างต่อเติมออกมา จนรุกล้ำสิทธิของเพื่อนบ้านหรือพื้นที่ส่วนกลาง กับ เรื่องไม่จ่ายเงินค่าส่วนกลาง
            เท่าที่สอบถามดู พอจะประเมินคร่าวๆ ได้ว่า ในแต่ละหมู่บ้าน น่าจะมีคนที่ก่อให้เกิดปัญหาเช่นนี้โดยเฉลี่ย ประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ พูดง่ายๆ ว่า ถ้ามีบ้าน 100 หลัง ก็อาจจะพบมนุษย์ผู้สร้างปัญหาให้แก่สังคมส่วนรวม ประมาณ 3-5 คน และทำให้คนส่วนใหญ่อีก 95-97 คน ต้องเสียความรู้สึก และต้องขบคิดหาวิธีการว่าทำอย่างไร จะให้คนเหล่านี้ ประพฤติปฏิบัติตน ให้ถูกต้องตามกฎหมายและกติกาสังคม
 กรณี ที่ไม่ยอมจ่ายส่วนกลางนั้น ถ้าเป็นสาเหตุมาจากฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปอย่างกะทันหัน จนทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอ เพื่อนบ้านก็คงพอจะเข้าใจได้ และให้เวลาในการแก้ปัญหา แต่เท่าที่ผมได้ยินมานั้น ส่วนใหญ่ยังมีรายได้เพียงพอ และบางรายมีรายได้เหลือเฟือเสียด้วยซ้ำไป แต่ จะไม่จ่ายเสียอย่าง จะว่าไง เอาซีครับ รวยดีอยู่หรอก แต่พฤติกรรมน่าเหยียดหยามอย่างนี้ก็มีด้วย

สาเหตุที่การบริหารงานในหมู่บ้านล้มเหลว

สาเหตุที่การบริหารงานในหมู่บ้านล้มเหลว😈

1. สมาชิกในหมู่บ้านจำนวนมากไม่ชำระค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะให้ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ส่งผลให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรขาด “งบประมาณรายรับ” หรือไม่เพียงพอต่อ “งบประมาณ-รายรับ-รายจ่าย"
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยฝ่ายบริหารหรือคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร จำเป็นต้องอาศัยทั้งหลักรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ไปพร้อมๆ กันเพื่อขอความร่วมมือให้ผู้ซื้อที่ดินชำระค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคหรือ บริการสาธารณะให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

2. ขาดความเป็นเอกภาพความสามัคคีในการบริหารงานโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร
-ปัญหา “ความไม่ลงรอย” ระหว่างการบริหารงานของคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร อาจส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการบริหารงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
-นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรจำนวนมากกว่า “กึ่งหนึ่ง” ประกาศลาออก เพื่อขอให้เปิดประชุม เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรชุดใหม่ แต่ประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการ “ไม่เห็นด้วย” กลายเป็นปัญหา (ภายใน) แสดงความไม่เป็นเอกภาพ หรือหนึ่งเดียว ก่อให้เกิดความไม่โปร่งใสในการบริหารงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในสายตาของสมาชิกหมู่บ้าน

3. มีการเปลี่ยนแปลงฝ่ายบริหารหรือคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรบ่อยครั้ง ทำให้งานบริหารขาดความต่อเนื่อง
### สัจธรรมข้อหนึ่งของความล้มเหลวในการบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร “ไม่ได้รับเงินเดือนหรือเบี้ยเลี้ยง” ทำให้เกิดความไม่เต็มใจที่จะสละเวลาส่วนบุคคลเข้ามาดูแลงานอย่างเต็มที่
สังเกต มักพบว่า นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง เพราะการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร “ไม่เป็นองค์ประชุม” ตามข้อบังคับ
 ....💛เมื่อเรารู้ว่าสาเหตุเป็นอย่างนี้ทุกคนคงต้องมาร่วมกันอย่าให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านฮาบิเทียบางใหญ่ของเรา